นิทรรศการนาฬิกาชีวิต

19 ตุลาคม 2560 (ผู้ดูแลระบบ) ข่าวประชาสัมพันธ์

   เราฟังเสียงของหัวใจมามากมาย ฟังความต้องการของ “ร่างกาย” กันบ้างนะ ในร่างกายของเรา จะมีต่อมเหนือสมอง เป็นต่อมไร้ท่อที่มีชื่อว่า ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ทำหน้าที่เป็นเหมือนตาที่สาม โดยเจ้าต่อมไพเนียล จะรับรู้และสร้างฮอร์โมนเซโรโทนินที่ทำให้เรารู้สึกเฟรช คึกคัก ตื่นตัว เมื่อเจอกับแสงสว่างในยามเช้า แม้ในยามที่เราหลับตาอยู่ และในความมืด ต่อมไพเนียลนี่ละที่สร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและหลับสนิท และส่งผลต่อฮอร์โมนตัวอื่นๆในร่างกายด้วย

   การเชื่อมโยงกับกลางวัน กลางคืน และฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายทำงานตามช่วงเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับเวลาในการดำเนินชีวิต ถ้ามีการกระตุ้นหรือส่งเสริมการทำงานของอวัยวะเหล่านั้นในเวลาที่ถูกต้อง ก็จะส่งผลดีต่อ ร่างกายมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ แต่หากไม่ทำตามเวลาของนาฬิกาชีวิตก็คือของเสียที่จะสะสมในร่างกาย รวมทั้งการเสื่อมของอวัยวะต่างๆก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการทำความรู้จักกับนาฬิกาชีวิตและพยายามปรับไลฟ์สไตล์ของเราให้แมทช์กับการทำงานของอวัยวะต่างๆก็เป็นเคล็ดลับเฮลตี้แบบง่ายๆที่ได้ประโยชน์มากเลยทีเดียว 

http://library.yru.ac.th/exhibition/

ไฟล์แนบ : ดาวน์โหลด